เสน่ห์หนองบัว เสน่ห์ไทลื้อ จากแคว้นสิบสองปันนา

04 กันยายน 2018, 16:19:07

 
“เสน่ห์หนองบัว เสน่ห์ไทลื้อ จากแคว้นสิบสองปันนา”

สัมผัสวิถีชีวิตอันเรียบง่าย ในดินแดนไทลื้อ บ้านหนองบัว ท่าวังผา น่าน เรียนรู้ประเพณี วัฒนธรรมชาวไทลื้อ พูดจาภาษาไทลื้อ ลิ้มรสสาหร่ายน้ำจืด (ไกยี)ที่โด่งดัง ชมกิจกรรมฝาผนังวัดหนองบัวที่เลื่องลือ เลือกชื้อผ้าทอไทลื้อที่ขึ้นซื่อ บ้านหนองบัว หมู่ที่ 5 ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2365 หรือประมาณ 180 ปี โดยสืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อแคว้น สิบสองปันนา ในปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีของตนเองไว้อย่างมั่นคง

ปัจจุบันบ้านหนองบัวเป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกทั้งยังเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหมู่บ้าน OTOP ระดับภาคเหนือ เป็นที่รู้จักของคนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยภาษาพูด ที่เป็นเอกลักษณ์ การดำเนินชีวิตตามวิถีชาวไทลื้อ การแต่งกาย รวมถึงชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ต้องการสัมผัสวิถีไทลื้อของคนในชุมชน
คณะอนุกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดน่าน ได้กำหนดให้บ้านหนองบัว เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมและ OTOP ท่องเที่ยว บ้านหนองบัวแห่งนี้มีวัดเก่าแก่ซึ่งเป้นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญประจำหมู่บ้านได้แก่ วัดหนองบัว โดยภายในมีวิหารที่สวยงาม วิหารแห่งนี้นับเป็นสถาปัตยกรรมไตลื้อที่ทรงคุณค่าทางศิลปะ นอกจากนั้นภายในยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยช่างเขียนได้เขียนออกมาเป็นคติสอนใจแก่คนรุ่นหลังเรื่อง จันทรคราส สันนิษฐานว่าว่าในช่วงราวสมัยต้นรัชกาลที่ 5

 

 


นอกจากนั้นชาวไตลื้อยังมีประเพณีเก่าแก่คือ ประเพณีกำเมือง หรือ ประเพณี 3 ปี 4 รวงข้าว เป็นประเพณีเลี้ยงเทวดาหลวง หรือ เจ้าหลวงเมืองล้าของชาวไตลื้อ พิธีกรรมนี้ได้ถือกำเนิดมาตั้งแต่ครั้งที่บรรพบุรุษของชาวไตลื้อยังอยู่ที่สิบสองปันนา เมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดน่านก็ยังคงสืบทอดประเพณีดังกล่าวเรื่อยมากว่า 100 ปี

 

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นก็คือ สาหร่ายแม่น้ำน่าน หรือ ไก ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศ ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้นำสาหร่ายแม่น้ำน่านมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนหลากหลายชนิดที่ขึ้นชื่อได้แก่ ไกแผ่น ข้าวตังหน้าไก น้ำพริกไกและไกยี ขณะที่เรื่องหัตถกรรมผู้หญิงชาวไตลื้อยังมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับการทอผ้า โดยเฉพาะผ้าลายน้ำไหล ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ ชาวบ้านส่วนใหญ่จะนิยมทอผ้าที่ใต้ถุนบ้าน ผ้าทอลายน้ำไหลและผ้าทอไตลื้อ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำชื่อเสียงมาสู่บ้านหนองบัว จนผ้าทอเหล่านี้ได้กลายเป็นสินค้า OTOP ที่สร้างรายได้ให้ชุมชนบ้านหนองบัว

วัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จากคำบอกเล่าเดิมวัดหนองบัวตั้งอยู่ที่ริมหนองบัวซึ่งเป็นหนองน้ำประจำหมู่บ้าน ต่อมาได้มีการย้ายวัดมายังตำแหน่งปัจจุบัน วัดหนองบัวสันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2405 โดยการนำของครูบาหลวงสุนันต๊ะร่วมกับชาวบ้านหนองบัวสร้างวัดขึ้นมา

ภายในวัดหนองบัวมีจิตรกรรมฝาผนังทียังคงหลงเหลือยู่และยังคงความงดงาม คาดว่าเป็นศิลปินชาวไทยลื้อเดียวกันกับผู้วาดจิตกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ ส่วนด้านหลังของวัดหนองบัว ยังจีดแสดงบ้านไทยลื้อโบราณเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เดินชม และยังเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผาซิ่นทอมือซึ่งเป็นสินค้าท้องถิ่นขึ้นชื่อของชาวหนองบัว หากนักท่องเที่ยวมาช่วงกลางวันยังสามารถพังบทเพลงสดๆซะล้อซอซึงจากกลุ่มชาวบ้านที่มีชื่อเสียงด้านการเล่นดนตรีล้านนาท้องถิ่นอีกด้วย


 



ภายในวัดหนองบัวมีความงดงามด้วยวิหาร สถาปัตยกรรมแบบไทลื้อที่สวยงามทรงคุณค่าทางด้านศิลปะอย่างยิ่งและหาดูได้อยากในปัจจุบัน วิหารมีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 19 เมตร ลักษณะเป็นวิหารขนาดย่อม รูปทรงเตี้ยแจ้ โดยเฉพาะหลังคายาวคลุมต่ำมาก อาคารตั้งอยู่บนฐานบัวคว่ำเป็นฐานปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหน้าย่อมุมเป็นมุขโถง เนื้อที่ใช้สอยภายในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหน้าที่ เป็นมุขโถงทำเป็นบันได มีสิงห์ยืนเฝ้าที่ประตูข้างละ 1 ตัว บริเวณมุขโถงจะก่อเป็นผนังอิฐสอปูน ระดับเหนือ ผนังเป็นลูกกรงลูกมะหวดไม้กลึง ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสตลอดผนังชั้นซ้อนหลังคา ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นผนังทึบมีหน้าต่างเป็นบานเล็กๆ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละ 1 ช่อง เนื้อที่ใช้สอยส่วนที่ 2 เป็นตัวอาคารใหญ่ ผนังก่ออิฐแบบกว้างสลับยาว ขอบบนของผนังเป็นรูปลดระดับตามชั้นลดของหลังคา ผนังหุ้มกลองด้านหลัง เป็นผนังทึบตัน

 

ส่วนผนังหุ้มกลองหน้ามีประตูอยู่ตรงกลาง 1 ช่อง ประตูนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่าง เนื้อที่มุขโถงกับเนื้อที่ภายในอาคารแสงสว่างจากภายนอก ส่วนใหญ่จะส่องผ่านทางมุขโถง ส่วนผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีช่องหน้าต่างด้านทิศเหนือ 7 ช่อง ทิศใต้ 6 ช่อง หน้าต่างเดิมมีขนาดเล็ก (เข้าใจว่า มีขนาดเท่ากับหน้าต่างที่ผนังด้านหน้า) ต่อมาได้เจาะขยาย เมื่อปี พ.ศ. 2469 ที่ผนังด้านเหนือมีประตูอีกทางหนึ่ง อยู่ระหว่างกลางผนังประตูทางเข้าด้านข้างนี้ ทำเป็นมุขยื่นออกไป มีหลังคาชั้นเดียวที่ผนังด้านทิศใต้ ทำแท่นสำหรับพระสงฆ์นั่งเทศน์เรียกว่า “ฐานสงฆ์” เป็นแท่นฐานปัทม์ก่ออิฐถือปูน

หลังคาวิหารมุงด้วยกระเบื้องดินขอรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาในประธานเป็นชั้นซ้อน 2 ชั้น ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และมีหลังคาปีกนกลาดลงอีกชั้นละ 1 ตับ หลังคาที่คลุมมุขโถง และหลังคาอาคารลดชั้นต่ำกว่ากันมาก พื้นหลังคาทั้ง 2 ส่วน คลุมยาวลงต่ำมาก ใช้รูปสัตว์ประดับบนเครื่องไม้ทั้งหมด หน้าบันเป็นลายแกะไม้ ติดกระจกตามช่องที่อุดหน้าปีกนก เป็นลายเครือเถาลายนูนเด่นออกมา ช่องไฟระหว่างลายห่าง เน้นตัวลายมากกว่าปกติ ลักษณะอาคารเน้นทางเข้าด้านหน้า โดยสังเกตได้จากการทำขนาดประตูมุขโถงสูงใหญ่และเปิดโล่ง มีเชิงชายรูปกระจังประดับและใช้สิงห์คู่ประดับอยู่ข้างประตูวิหารแห่งนี้


 



 

ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ที่เล่าเรื่องปัญญาชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่า เขียนโดย “หนานบัวผัน” ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพ ซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. 2395-2434) ได้นำมาจากเมืองพวน ในแคว้นหลวงพระบาง

หนานบัวผัน ที่เคยสร้างงานจิตรกรรมที่วัดภูมินทร์ที่ อ.เมืองน่าน ซึ่งมีภาพที่โด่งดังได้แก่ภาพปู่ม่านย่าม่าน เพราะเมื่อปรียบเทียบภาพจิตรกรรมทั้งสองก็พบความเหมือนทั้งลายเส้น, สีสัน, ใบหน้า และฉากกว่า 40 จุด อีกทั้งยังมีมุมมองและแนวคิดที่ทันสมัย รู้จักนำสีสันมาใช้ เช่น สีแดง ฟ้า ดำ น้ำตาลเข้ม และมีวิธีลงฝีแปรงคล้ายภาพวาดสมัยใหม่ และยังมีนายเทพและพระแสนพิจิตรเป็นผู้ช่วยเขียนภาพจนสำเร็จ ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล และผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม

เรื่องราวในภาพเขียนจิตรกรรม ได้แก่ พุทธประวัติ และ จันทคาธชาดก ซึ่งเป็นนิยายคติธรรมเก่าแก่ในหนังสือ ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ชาวบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ค่าวธรรม เป็นนิทานธรรมที่สอนให้กุล บุตรและกุลธิดาเอาแบบอย่างจริยธรรมที่ดีงามเช่น การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต และความเมตตากรุณา

ทางด้านหลังของวัดหนองบัว ยังเป็นที่ตั้งของชุมชนไทลื้อ ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวไทลื้อได้ด้วย มีบ้านที่จัดแสดงความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ ด้านบนบ้านจะมีให้ชมทั้งห้องนอน เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ส่วนด้านล่างใต้ถุนบ้านจะมีการสาธิตการทอผ้า โดยกลุ่มผู้หญิงในหมู่บ้านหนองบัวอีกด้วย

 

ขอบคุณที่มา www.chiangmainews.co.th ขอบคุณรูปภาพจาก www.thongthailand.com 

 



 



**************************************************
บริการจัดทัวร์ 
ทัวร์เชียงตุง ทัวร์เมืองยอง ทัวร์สิบสองปันนา ทัวร์คุนหมิงจีน ทัวร์หลวงพระบาง ทัวร์วังเวียงลาว ทัวร์มัณฑเลย์ ทัวร์พุกาม ทัวร์ทะเลสาบอินเล ทัวร์ตองจี ทัวร์รัฐฉาน

บริษัท เชียงตุงเรียลเอสเตท แอนด์ ทราเวล จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 21/00833
โทร : 092-891-2277,093-2537733,053-727255
ไลน์ไอดี : @chiangtung
เว๊ปไซค์ : Chiangtungbiz.com
youtube:http://bit.ly/2HDFdMO
 
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน